ภบท.5 คือภาษีบำรุงท้องที่ตามพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508 ซึ่งในมาตรา 7 ให้ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินในวันที่ 1 มกราคมของปีใด ทำหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่สำหรับปีนั้นจากราคาปานกลางของที่ดิน โดยราคากลางของที่ดินจะมีการประเมินทุกๆ 4 ปี ซึ่งจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับว่าที่ดินตั้งอยู่ในพื้นที่ใด การตีราคากลางของที่ดินจะตีเป็นหน่วยตำบล
ที่ดินที่มี ภบท.5 จะออกใบจองคือ น.ส.2 หรือออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์คือ น.ส.3 ได้หรือไม่นั้น ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 1 ระบุไว้ว่า ใบจอง หมายความว่า หนังสือแสดงการยอมให้เข้าครอบครองที่ดินเป็นการชั่วคราว มี 2 แบบ ได้แก่ 1.น.ส.2 เป็นใบจองสำหรับที่ดินที่ตั้งอยู่ในท้องที่ ซึ่งรัฐมนตรียังไม่ได้ประกาศยกเลิกอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติตามประมวลกฎหมาย ที่ดินของหัวหน้าเขต นายอำเภอ ผู้เป็นหัวหน้ากิ่งประจำอำเภอ และ 2.น.ส.3 ก. เป็นใบจองที่ดินที่ตั้งอยู่ในท้องที่อื่น มิใช่ท้องที่ตามข้อ 1
การ ออกใบจองเพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยและทำมาหากินเลี้ยงชีพแก่ราษฎรในที่ดิน มีหลักเกณฑ์กำหนดไว้ 2 กรณี หนึ่งคือรัฐจัดที่ดินผืนใหญ่เนื้อที่ตั้งแต่ 1,000 ไร่ขึ้นไป ซึ่งเป็นอำนาจของอธิบดีกรมที่ดินในการนำที่ดินของรัฐ ซึ่งไม่มีบุคคลใดมีสิทธิครอบครอง และเป็นที่ดินนอกจากส่วนราชการหรือองค์การของรัฐนำไปจัดตามกฎหมายอื่นแล้วมา วัดให้ราษฎร ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับ ข้อกำหนด ตามที่คณะกรรมการที่ดินแห่งชาติกำหนดไว้
อีกกรณีหนึ่งคือราษฎรจับจอง ที่ดินแปลงเล็กแปลงน้อย เป็นที่หัวไร่ปลายนา มีเนื้อที่ไม่เกิน 1,000 ไร่ หรือเป็นที่ดินซึ่งคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติยังไม่ได้ประกาศเขตสำรวจ ที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 24
ทั้งสองกรณีเมื่อราษฎรคนใดได้ รับอนุญาตให้จับจองที่ดินแล้วให้ออกใบจองให้ไว้เป็นหลักฐานก่อน ต่อไปเมื่อปรากฏแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ว่าบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้จับจอง ที่ดินได้ทำประโยชน์ในที่ดิน และได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติกำหนดโดย ครบถ้วนแล้ว ก็ให้ออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน (โดยออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.3 หรือโฉนดที่ดิน น.ส.4 ให้โดยเร็วต่อไป)
สำหรับผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินภายหลังวัน ที่ประมวลที่ดินใช้บังคับหลังวันที่ 1 ธันวาคม 2497 และไม่มีใบจอง ใบเหยียบย่ำ หรือไม่มีหลักฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการ ครองชีพ จะขอออก น.ส.3 ได้กรณีเดียวคือ ออกทั้งตำบล คือรัฐประกาศออก น.ส.3 ในพื้นที่นั้น
--------------------------------------------
บุคคล ที่มีหลักฐาน ภบท. 5 ก็สามารถออกโฉนดที่ดินได้ ถ้าที่ดินแปลงนั้นไม่อยู่ในเขตสงวนหวงห้ามที่สาธารณประโยชน์ เขตป่าไม้ฯ เขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.) ที่เขา ที่ภูเขา และครอบครองที่ดินมาก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ (ก่อน 1 ธันวาคม 2497) ก็สามารถออกโฉนดที่ดินเฉพาะรายได้ ณ สำนักงานที่ดินจังหวัด / สาขา / ที่ดินนั้นตั้งอยู่ และออกโฉนดโดยการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน
ปัจจุบัน กรมที่ดินได้มีโครงการเร่งรัดออกโฉนดที่ดินทั่วประเทศตามนโยบายการแปลง สินทรัพย์เป็นทุนของรัฐบาล และจังหวัดกาญจนบุรี ก็มีศูนย์เดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน การออกโฉนดที่ดิน โดยวิธีนี้เจ้าของที่ดินผู้ครอบครองภายหลังประมวลกฎหมายที่ดินก็สามารถนำ เดินสำรวจได้ ก่อนที่ศูนย์เดินสำรวจฯ จะเข้าไปดำเนินการต้องมีการประกาศให้ประชาชนในท้องที่นั้น ทราบล่วงหน้า 30 วัน และมีการประสานกำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน, เพื่อนัดประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับราษฎรในท้องที่ที่จะเดินสำรวจ สำหรับจังหวัดกาญจนบุรี ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นเขตปฏิรูปที่ดินทั้งอำเภอ ในท้องที่อำเภอเมืองกาญจนบุรี, ด่านมะขามเตี้ย, ไทรโยค, หนองปรือ, บ่อพลอย และบางส่วนในท้องที่อำเภอท่าม่วง, พนมทวน, ศรีสวัสดิ์, ทองผาภูมิ, สังขละบุรี, เลาขวัญ และห้วยกระเจา ดังนั้นหากที่ดินของท่านซึ่งมีเพียงหลักฐาน ภบท. 5 อยู่ในท้องที่ที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินของอำเภอดังกล่าวข้าง ต้น ก็ไม่สามารถออกโฉนดที่ดินได้ เนื่องจากไม่มีหลักฐานเดิมเป็น ส.ค. 1, ใบจอง, น.ส. 3, น.ส. 3 ก.
เครดิต:: กลุ่มงานวิชาการที่ดิน
Link: คลิ๊กที่นี่